ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
1.1.ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอห้างฉัตร ตั้งอยู่ที่ 163 หมู่ที่ 1 ตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง รหัสไปรษณีย์ 52190 โทรศัพท์ 054269432 โทรสาร 054269118 E-mail nfe_hangchat@hotmail.com Website http://www.hc.ac.th
1.2.สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอห้างฉัตรสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
1.3.ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา และข้อมูลชุมชน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ได้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาส่วนหนึ่งของอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอห้างฉัตรเป็นสำนักงานมาจนถึงปี 2548 จึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้นแล้วเสร็จและใช้เป็นสำนักงานมาตั้งแต่ วันที่ 9 มีนาคม 2549 มาจนถึงวันที่ 3 มีนาคม 2551 ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอห้างฉัตร
ลักษณะที่ตั้ง
อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 13 อำเภอ ของจังหวัดลำปาง อยู่ทิศตะวันตกของจังหวัดลำปาง ห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 684.757 ตารางกิโลเมตร หรือ 427,973.125 ไร่
สภาพพื้นที่
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ทิศเหนือและทิศตะวันตกมีทิวเขาขุนตาล เป็นเส้นกั้นอาณาเขต ครึ่งหนึ่งอยู่ในเขตอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน อีกครึ่งหนึ่งอยู่ในเขตอำเภอห้างฉัตร
การปกครอง
แบ่งเขตการปกครองตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2547 เป็น 7 ตำบล 73 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านปกติ 59 หมู่บ้านและหมู่บ้าน อพป. 14 หมู่บ้าน และมีองค์กรปกครองท้องถิ่น คือ มีเทศบาลตำบล 1 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น 5 จำนวน 7 แห่ง แต่จะมีการยกระดับฐานะเป็นเทศบาลเพิ่มเติมจำนวน 3 แห่ง คือเทศบาลตำบลห้างฉัตรแม่ตาล เทศบาลตำบลปงยางคก และเทศบาลตำบลเมืองยาว
ประชากร
อำเภอห้างฉัตรมีประชากรทั้งสิ้น 51,973 คน แยกเป็นชาย 25,535 คน หญิง 26,438 คน (รวมจำนวนประชากรในเขตเทศบาล) มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ 78 คน/ตารางกิโลเมตร (ข้อมูลจากปี 2551)
การตั้งถิ่นฐาน
การตั้งถิ่นฐานของแต่ละตำบลแต่ละหมู่บ้านอยู่ใกล้กัน การคมนาคมสะดวกการติดต่อสื่อสารทำได้รวดเร็ว ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาเป็นหลัก หลังฤดูการเก็บเกี่ยวมีการปลูกพืชหมุนเวียนตามฤดูการเป็นอาชีพเสริม ประกอบกับในอำเภอและพื้นที่ใกล้เคียงมีสถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรม มีการจ้างงานทำให้ประชากรมีรายได้เสริม